เครื่องดื่มแอลกอฮอล์? อะไรคือปัญหา?

23 ม.ค.

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์? อะไรคือปัญหา?

มีเส้นแบ่งระหว่างนักดื่มระดับปานกลางหรือดื่มเพื่อสังคมกับผู้ติดสุราเรื้อรังหรือไม่? ปริมาณแอลกอฮอล์เท่าใดจึงจะถือว่ามากเกินไป? ทฤษฎีบางทฤษฎีชี้ให้เห็นว่าโรคพิษสุราเรื้อรังไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปริมาณสุราที่ผู้คนดื่ม จิตแพทย์มีชื่อเสียงท่านหนึ่งกล่าวว่า“ บางคนดื่มเพียงเล็กน้อยก็สามารถกลายเป็นคนติดเหล้าได้ในขณะที่คนดื่มจัด ๆ ไม่ติด”

มีหลักสองข้อสำหรับการวินิจฉัยโรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะร่างกายคุ้นชินกับแอลกอฮอล์ และภาวะร่างกายถอนพิษสุรา การที่ร่างกายชินกับสุรานับเนื่องมาจากการที่ผู้ดื่มเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ได้เรื่อยๆ ส่วนอาการถอนเหล้ามีผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเกิดขึ้นเมื่อการใช้แอลกอฮอล์สิ้นสุดลง ลักษณะอาการถอนเหล้าทางกายภาพได้แก่ อาการปวดหัว วิงเวียน คลื่นไส้ เหงื่อออก และอัตราการเต้นของหัวใจถี่ ลักษณะถอนเหล้าด้านจิตใจ ได้แก่ ความวิตกกังวล หงุดหงิดระคายเคือง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ความจำและสมาธิบกพร่อง นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอภิปรายกันอย่างต่อเนื่องถึงปริมาณแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย เฉพาะแอลกอฮอล์มักจะไม่อันตรายถึงเพียงนั้น แต่นักดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักหรือคนติดเหล้าจะมีความเสี่ยงต่อการป่วยจากแอลกอฮอล์ แม้จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ แต่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วโลกได้รับการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษหน้า

ในทางจิตวิทยา การพึ่งพาแอลกอฮอล์อาจส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่การงานได้ไม่ดี มีอาการหลอน พฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ การหย่าร้าง และหนี้สิน การบำบัดต่อการบริโภคแอลกอฮอล์ผิดๆสามารถดำเนินการได้ทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยมากเริ่มต้นด้วยการลดแอลกอฮอล์ ตามด้วยการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ และจัดการกับอาการถอนสุรา สำหรับผู้ที่ติดและต้องการเลิกอย่างจริงจัง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยทางจิตประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย หลายคนไม่ตระหนักหรือยอมรับว่าตนป่วยและไม่ต้องการขอความช่วยเหลือจากแพทย์ การรักษาผู้ติดสุราอาจเริ่มจากที่บ้านได้ง่ายๆโดยลดจำนวนคนดื่ม หากล้มเหลวนั่นอาจหมายถึงว่าดื่มจนติดกันไปเสียแล้ว ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความช่วยเหลือทันที

แหล่งข้อมูลจาก ไลฟ์ เดอะบางกอกโพสต์