5 อันดับผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในประเทศไทย

18 ก.ค.

5 อันดับผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในประเทศไทย

“มะเร็ง” แค่ได้ยินชื่อนี้ก็ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง เพราะมันคือโรคร้ายที่พร้อมคร่าชีวิตตัวคุณและคนที่รักได้แบบไม่ใยดี แต่ทั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าคนไทยจำนวนมากก็มักจากกันไกลด้วยโรคดังกล่าวในแต่ละปีสูงพอตัว จึงขอรวม 5 อันดับผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในประเทศไทยมากที่สุดมาเตือนสติกันเอาไว้ พร้อมใส่ใจสุขภาพของตนเองให้มากขึ้นกว่าเดิม

รวม 5 โรคมะเร็งในประเทศไทยที่พบมากที่สุด

ความน่ากลัวของโรคมะเร็งอย่างหนึ่งคือเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วสามารถลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และนี่คือ 5 สถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยที่พบเจอได้บ่อย รวมถึงอัตราเสียชีวิตสูงด้วยเช่นกัน

1. มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี

เริ่มกันด้วยโรคมะเร็งที่หลายคนคุ้นเคย มาจากเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นบริเวณท่อทางเดินน้ำดี ท่อน้ำดีภายในและภายนอกตับ มักเกิดกับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป เพศชายมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญมาจากการทานอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะบรรดาเนื้อปลาน้ำจืด เนื้อหมู เนื้อวัว ส่งผลให้ตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับเข้าไปอาศัยอยู่ในร่างกายและเติบโตภายในท่อน้ำดีก่อนจะลุกลามไปสู่ตับ รวมถึงผู้ที่ชอบดื่มเหล้า ทานอาหารไขมันสูงจนทำให้ตับทำงานหนักและไขมันพอตับนำไปสู่การป่วยมะเร็งตับ

2. มะเร็งปอด

จัดเป็นโรคมะเร็งในประเทศไทยที่เป็นภัยเงียบคร่าชีวิตผู้คนได้มากเป็นลำดับต้น ๆ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้มาจากการสูบบุหรี่ซึ่งผู้สูบเสี่ยงต่อการป่วยมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า, การได้รับควันบุหรี่มือสอง, การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการสูดดมสารพิษ สารเคมีก่อมะเร็ง เช่น ในเหมืองแร่ โรงงานอุตสาหกรรม, การอยู่ในสภาพแวดล้อมมีฝุ่นและควันพิษอย่าง PM 2.5 เป็นต้น มีทั้งมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กและเซลล์ใหญ่ กระจายสู่อวัยวะอื่นได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว

3. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

สถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยนี่ก็ถือเป็นอีกชนิดมะเร็งที่มีอัตราเกิดสูง สาเหตุมาจาก “โพลิป” (Polyp) หรือติ่งเนื้อเล็ก ๆ มีการงอกออกจากผนังลำไส้ เมื่อเวลาผ่านไป 5-10 ปี ติ่งขนาดนิ้วก้อยจะค่อย ๆ กลายเป็นเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้ก็ยังมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมด้วย เช่น การทานของแปรรูป เนื้อแดงเป็นประจำ, เป็นโรคอ้วน, สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ, เคยมีประวัติเนื้องอกในลำไส้แม้ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง เป็นต้น

4. มะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งในประเทศไทยที่มีผู้หญิงเสียชีวิตมากที่สุด ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือคนในครอบครัวมีประวัติป่วยมะเร็งมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าปกติ จึงควรมีการตรวจประเมินอยู่เป็นประจำ เช่น การคลึงเต้านมของตนเองหากเจอก้อนน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์ รวมถึงการตรวจสุขภาพประจำปีและเน้นไปที่การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยจะช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่าเดิม

5. มะเร็งปากมดลูก

อีกความอันตรายของผู้หญิงที่มักมีสาเหตุจากเชื้อ HPV ผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนจำนวนมากและไม่มีการป้องกันด้วยถุงยางอนามัย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น หญิงสาวอายุ 40 ปีขึ้นไป, การมีบุตรเยอะ, สูบบุหรี่ หรือป่วยด้วยโรคเอดส์ เป็นต้น แนะนำว่าหากอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี

ทุกอันดับผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในประเทศไทยถือเป็นถือเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ดังนั้นการใส่ใจกับสุขภาพของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งยังแนะนำให้ทำ ประกันสุขภาพ เพิ่มเติมหรือ ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ให้กับพ่อแม่ที่ครอบคลุมโรคมะเร็งเอาไว้ด้วย อย่างน้อยหากเกิดขึ้นกับตนเองจริงจะได้เบาใจเรื่องค่ารักษาพยาบาลและต่อสู้กับมันได้แบบเต็มที่