โรงพยาบาลเอกชน

09 ก.ค.

โรงพยาบาลเอกชน

รัฐบาลกำหนดเส้นตาย วันที่ 4 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ให้โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ ต้องส่งข้อมูลรายงาน ไม่เช่นนั้นแล้วจะมีความผิดรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติการกำหนดราคาสินค้าและบริการปี พ.ศ. 2542

ตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ที่ปฏิเสธไม่ยอมให้ข้อมูลต่อทางการถือว่าได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 18 จะถูกจำคุกไม่เกินสามเดือนปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาดูกันว่าทางการจะมีท่าทีอย่างไรกันบ้างกับผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือ และจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเมื่อทราบผลลัพท์ที่ออกมา

ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือ แพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนไม่ค่อยออกเอกสารในใบสั่งจ่ายยาที่ลูกค้าสามารถนำไปซื้อตามร้านขายยาทั่วไปข้างนอกได้ ดังนั้นยาทั้งหมดมาจากโรงพยาบาล การควบคุมราคาค่าบริการก็ยังจัดเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับรัฐบาล เว้นแต่ว่ามีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่กล่าวว่าราคาค่าบริการอยู่ระหว่าง 30-300% สูงกว่าราคาผลิตที่น่าตกใจและกระทรวงพาณิชย์ยังพบอีกว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของโรงพยาบาลเอกชนคิดค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการทางการแพทย์สูงเกินไป

คุณเคยไปพบแพทย์กี่ครั้งแล้วได้ยากลับมาบ้าน 4-5 ชนิด คุณเคยตั้งคำถามมั้ยว่าทำไม? คุณมียาเหมือนกันที่บ้านหรือเปล่าแล้วทำไมต้องรับยาที่มีอยู่แล้วที่บ้านด้วย ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเหล่านี้ มีผลต่อการถูกเพิ่มเบี้ยประกันในแต่ละปี

ในขณะที่โรงพยาบาลหลายแห่งซื้อเครื่องมือผ่าตัดปฏิบัติการเชิงหุ่นยนต์ คำถามก็คือเครื่องมือเหล่านี้เหมาะสมที่สุดสำหรับการผ่าตัดนั้นๆหรือไม่? หรือนี่เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพิ่มความซับซ้อนของการกำหนดราคาที่โรงพยาบาลบางแห่งเรียกร้องหรือไม่? เราไม่แน่ใจว่าคุณจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องเนื่องจากโควต้าและการใช้อุปกรณ์มีอยู่ในโรงพยาบาลที่เราเข้าแต่ละครั้ง โรงพยาบาลเหล่านี้ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างรวดเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องจากโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งว่าค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในประเทศไทยมีราคาถูกกว่าในสหรัฐอเมริกาอย่างมาก หากนี่เป็นข้อแก้ตัวที่ใช้ในการประเมินราคาที่มากเกินไปเราทุกคนก็ถูกหลอกเพราะสหรัฐอเมริกา ก็เป็นประเทศที่เรียกเก็บการรักษาพยาบาลที่สูงและงี่เง่ามาก