ท่านมีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดแตกหรือไม่?

23 ม.ค.

ท่านมีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดแตกหรือไม่?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาในหมู่คนอายุต่ำกว่า 60 ปี ผู้สูงอายุ หรือผู้สูงอายุวัยทำงานและแม้กระทั่งวัยรุ่นก็สามารถถูกคุกคามโดยอาการเส้นเลือดแตกได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ

ประเภทของภาวะเส้นเลือกแตกหมาย รวมถึง เอ็มโบลิค ซึ่งก็คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเลือดอุดตันที่หัวใจหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย เดินทางเข้าสู่เส้นเลือดและอุดตันหลอดเลือดขนาดเล็กในสมอง

  • การเกิดลิ่มเลือดในสมอง เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดสมองซึ่งถูกบีบโดยการสะสมของสารไขมัน
  • ภาวะเลือดออกในสมอง เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดแตกและมีเลือดออกในสมองที่อ่อนแอ เลือดสะสมและก่อแรงกดดันต่อเนื้อเยื่อสมองรอบ ๆ ทำให้เกิดความบกพร่อง

เวลาเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง หากมีอาการเกิดขึ้นผู้ป่วยควรอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด หากได้รับการรักษาทันท่วงทีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถเพิ่มโอกาสการมีชีวิตรอดได้มากและฟื้นไข้ได้อย่างสมบูรณ์

  • อาการโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ แขนอ่อนแรง แขนขาชา เดินไม่สะดวก พูดด้วยความยากลำบากมักจะกะท่อนกะแท่นไม่เป็นประโยค ลักษณะหน้าตาบิดเบี้ยว ร่วมกับอาการปวดศีรษะขั้นวิกฤติ
  • ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ เส้นเลือดแดงตีบและโรคหัวใจซีกบนหรือโรคหัวใจอื่น ๆ พยายามหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและมีความตื่นตัวในการควบคุมน้ำหนัก

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง หากมีการวินิจฉัยยืนยันแล้วว่าผู้ป่วยเป็นลิ่มก้อนใหญ่ วัสดุที่ใช้ในการนี้จะถูกฉีดเข้ากระแสเลือดเพื่อระบุตำแหน่ง หลังจากนั้นก็อาจเอาลิ่มออกโดยวิธีการรักษาผ่าตัดเล็ก เนื่องจากลักษณะที่บอบบางของหลอดเลือดเล็ก ๆ ทุกขั้นตอนจะต้องดำเนินการโดยทีมแพทย์รังสีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา

ภาวะเส้นเลือดแตกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและเกิดซ้ำได้อีก พึงตระหนักในการใช้ชีวิตตามแนวสุขภาพ ศึกษาประวัติครอบครัวของตน ควรตรวจสุขภาพประจำปีบ้าง สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองควรเปิดใจต่อการพักฟื้นในช่วงต้นซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นตัวของสมองและการทำงานของกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการเกิดลิ่มเลือด

แหล่งข้อมูล: – ศูนย์ประสาทวิทยาศาสตร์กรุงเทพ