ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
คณะกรรมการอื่นๆ
คณะกรรมการตรวจสอบ
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ
1. วัตถุประสงค์
คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) เป็นคณะกรรมการอิสระได้จัดตั้งขึ้นโดยมติของคณะกรรมการบริษัท เพื่อส่งเสริมระบบการกำกับ ดูแลกิจการที่ดี และ เสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินการ โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะให้การสนับสนุนและปฏิบัติการในนามของคณะกรรมการบริษัท เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินที่เสนอแก่ผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น สอบทานและประเมินระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยงและระบบการตรวจสอบภายใน มีการปฏิบัติตามสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยรวมทั้งกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ
2.1. องค์ประกอบ
2.1.1. คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยอย่างน้อย 3 ท่าน
2.1.2 ได้รับมติแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการตรวจสอบ
2.1.3 มีกรรมการอิสระเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการตรวจสอบทั้งหมด
2.1.4 ประธานกรรมการตรวจสอบ ต้องเป็นกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท
2.1.5 คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ท่าน ที่มีความรู้และ ประสบการณ์ด้านการบัญชี หรือ การเงินอย่างเพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
2.2. คุณสมบัติ
คณะกรรมการตรวจสอบ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ และไม่ขัดต่อหลักเกณฑ์ ข้อ 18 ข้อ 19 และข้อ 20 ตามประกาศของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557 กำหนดขึ้น โดยกรรมการตรวจสอบต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะที่อาจจะมีผลต่อการใช้ดุลยพินิจ ตามหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างอิสระ
3. วาระการดำรงตำแหน่ง
3.1 วาระการดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบมีกำหนดเวลาคราวละ 3 ปี นับตั้งแต่วันได้รับการแต่งตั้ง
3.2 กรรมการตรวจสอบซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบกำหนดตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้โดยมติคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น
3.3 กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหรือลดจำนวนกรรมการตรวจสอบ ต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น
3.4 นอกเหนือจากการพ้นจากตำแหน่งเมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่งตามที่กำหนด กรรมการตรวจสอบจะพ้นตำแหน่งเมื่อ
3.4.1 ลาออก
3.4.2 ตาย
3.4.3 คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
3.4.4 ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการตรวจสอบ ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดประกาศ
คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบ และการควบคุมภายในของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2557
4. ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
4.1 สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางเงินที่มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญโดยครบถ้วนและเป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
4.2 สอบทานและประเมินผลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน ระบบการตรวจสอบภายใน และ
ระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม มีประสิทธิผล และรัดกุม ตามกรอบที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
4.3 สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อกำหนดของสำนักงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
4.4 พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทและเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
4.5 ให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายบริหารเพื่อการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ ดังต่อไปนี้.-
(ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ข) การทุจริต มีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(ค) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท หากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด คณะกรรมการตรวจสอบจะต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยโดยไม่ชักช้า
4.6 แสดงความเห็นประกอบรายงานผลการประเมินการควบคุมภายในของบริษัทโดยรวมต่อคณะกรรมการบริษัท
4.7 พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อแผนงานตรวจสอบและกำกับดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
4.8 ในกรณีที่จำเป็นคณะกรรมการตรวจสอบอาจขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท
4.9 จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทซึ่งลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
4.10 สอบทานและประเมินกฏบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเมื่อมีการแก้ไข
4.11 จัดให้มีการประเมินตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัท
4.12 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ
5. การประชุม
5.1 คณะกรรมการตรวจสอบจัดให้มีการประชุมเป็นประจำอย่างน้อยทุกไตรมาส เพื่อติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในและการดำเนินงานของบริษัทและมีอำนาจในการเรียกประชุมเพิ่มได้ตามความจำเป็น และองค์ประชุมประกอบด้วยกรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
5.2 ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบอาจเชิญผู้บริหารสูงสุดของกลุ่มบริหารความเสี่ยง ฝ่ายบริหาร ผู้สอบบัญชีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมและขอข้อมูลตามความจำเป็นและเหมาะสมกับวาระการประชุมนั้น ๆ
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
1. วัตถุประสงค์
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ (Good Governance) ในด้านเกี่ยวกับการบริหาร และจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการให้มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) เพื่อดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยสอดคล้องเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์พันธกิจและวัตถุประสงค์ของบริษัทฯเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวในนามของคณะกรรมการบริษัท
2. หน้าที่และความรับผิดชอบ
2.1 พิจารณาสอบทาน และนำเสนอนโยบาย และกรอบการบริการความเสี่ยงให้แก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2.2 พิจารณาสอบทาน และให้ความเห็นชอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบ รวมทั้งรายงานความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
2.3 กำกับดูแลกิจการ การพัฒนาและการปฏิบัติตามนโยบาย และกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทฯมีระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรและมีการฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
2.4 สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยงเพื่อติดตามความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีการจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอและเหมาะสม
2.5 ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับความเสี่ยงสำคัญ และมีฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นผู้สอบทานเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมต่อการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งการนำระบบการบริหารความเสี่ยงมาปรับใช้อย่างเหมาะสม และมีการปฏิบัติตามทั่วทั้งองค์กร
2.6 ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
คณะกรรมการลงทุน
1. วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้มีเพื่อช่วยให้บริษัทมีการบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำกับดูแล ตรวจสอบและประเมินผลการลงทุนในสินทรัพย์ของบริษัทฯการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านั้นจะถูกจัดขึ้นโดยคณะกรรมการการลงทุน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามภารกิจและวัตถุประสงค์ของบริษัทฯนโยบายนี้มีความสอดคล้อง ดังต่อไปนี้นี้
1.1 กำหนดระดับความเพียงพอของเงินกองทุนที่ยอมรับได้และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษาระดับของเงินกองทุนให้เพียงพอในการรองรับความเสี่ยงอย่างเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจ
1.2 กำหนดและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
1.3 สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในส่วนของเป้าหมายการบริหาร และดำรงเงินกองทุนของบริษัทและวัตถุประสงค์ รวมทั้งกำหนดและจัดสรรสินทรัพย์และหนี้ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสำนักงาน (คปภ.)
1.4 การบริหารความเพียงพอของเงินกองทุนจะต้องคำนึงถึงสภาพคล่องและการกระจุกตัวเงินของเงินกองทุนของบริษัท
1.5 กำหนดขั้นตอนโครงร่างและเกณฑ์ในการติดตามประเมินผลและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโดยผู้จัดการ การลงทุนเป็นประจำตามกำหนดรวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหาร (Board of Director) และ / หรือ คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee)
2. ระเบียบวิธีปฎิบัติและกระบวนการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการการลงทุน
2.1 คณะกรรมการบริหารต้องมีความรับผิดชอบสูงสุดสำหรับกลยุทธ์การลงทุน และการบริหารความเสี่ยงขององค์กร และสินทรัพย์ลงทุน
2.2 คณะกรรมการบริหารอาจมอบหมายอำนาจเรื่องการลงทุนขององค์กรที่จะเกิดขึ้นให้อยู่ภายใต้คณะกรรมการการลงทุน โดยต้องมีคุณสมบัติสมาชิกตามกฎระเบียบของ คปภ.
2.3 คณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการการลงทุนอาจจ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หรือผู้จัดการการลงทุนในการจัดพอร์ตการลงทุนขององค์กรในกรณีที่จำเป็น
2.4 คณะกรรมการบริหาร หรือผู้มีอำนาจที่ได้รับการแต่งตั้งหรือคณะกรรมการการลงทุนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการสินทรัพย์การลงทุนขององค์กร โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
• ต้องมีการสื่อสารความต้องการทางการเงินขององค์กร ให้กับผู้จัดการการลงทุนในเวลาที่เหมาะสม
• พิจารณาและอนุมัติวัตถุประสงค์การลงทุน รวมถึงแนวนโยบายและการจัดสรรของทรัพย์สินที่จะนำไปลงทุนเป็นประจำทุกปี
• มีความรอบคอบในการเลือกวิธีการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนที่มีคุณภาพ รวมทั้งผู้จัดการการลงทุน การจัดการสินทรัพย์ ผู้สอบบัญชีและผู้ดูแลสินทรัพย์
• มีการประเมินอย่างสม่ำเสมอในประสิทธิภาพการทำงานของผู้จัดการการลงทุนในด้านการจัดการสินทรัพย์การทำงานของผู้จัดการการลงทุนในด้านการจัดการสินทรัพย์เพื่อให้มั่นใจว่าตรงตามแนวทางการดำเนินงาน และตรวจสอบความคืบหน้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการลงทุน
• มีการสอบทานและตรวจสอบการปฏิบัติงานฝ่ายการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายขององค์กรที่วางไว้