ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท
การสรรหาและการแต่งตั้ง
คณะกรรมการบรรษัทภิบาล สรรหา และพิจารณาค่าตอบแทน
คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการมีระบบการกำกับ ดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) คณะกรรมการสรรหากำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นส่วนหนึ่งของการมีระบบการกำกับ ดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) โดยคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบริหารทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่เสนอนโยบายการสรรหา การกำหนดค่าตอบแทนให้กับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงให้เป็นไปอย่างโปร่งใส มีความเป็นธรรมถูกต้องตามเกณฑ์ ระเบียบข้อกำหนด และกฎหมายที่
1. องค์ประกอบ
คณะกรรมการสรรหากำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคลได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการ / หรือผู้ทรงคุณวฒิที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างดี จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
2. คุณสมบัติ
2.1 เป็นผู้มึความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ตลอดจนมึความเข้าใจถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคล
2.2 มีความอิสระ และต้องสามารถอุทิศเวลาในการปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างเพียงพอ
3. วาระการดำรงตำแหน่ง
3.1 ให้คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคล มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ทั้งนี้เมื่อครบกำหนดตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกได้
3.2 กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคลพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
3.2.1 ครบกำหนดตามวาระ
3.2.2 ลาออก
3.2.3 ตาย
3.2.4 คณะกรรมการบริษัทมีมติให้พ้นตำแหน่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคลว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากครบกำหนดตามวาระให้คณะกรรมการให้คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนขึ้นเป็นกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัยากรบุคคลแทนโดยบุคคลที่เข้าเป็นกรรมการสรรหากำหนดค่าตอบแทน และบริหารทรัพยากรบุคคลอยู่ในตำแหน่งเพียงวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการสรรหากำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัยากรบุคคลซึ่งตนแทน
4. ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ
เพื่อให้การปฎิบัติงานของคณะกรรมการสรรหากำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคลสามารถสนับสนุนงานของบริษัทฯและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทจึงกำหนดขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนี้
4.1 ด้านการสรรหา
• กำหนดนโยบาย กรอบแนวทาง และหลักเกณฑ์ในการสรรหากรรมการบริษัท กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท ที่ปรึกษาคณะกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่
• พิจารณาสรรหาและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย และที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท เพื่อทดแทนในตำแหน่งว่าง หรือตามความเหมาะสม นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง
• พิจารณาสรรหาผู้บริหารในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง และกำหนดแนวทางการประเมินผลงานกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อพิจารณา ปรับผลตอบแทนประจำปีโดยคำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
4.2 ด้านกำหนดค่าตอบแทน
• เสนอแนวทางและวิธีการในการกำหนดค่าเบี้ยประชุม ค่ารับรอง เงินรางวัล และบำเหน็จ รวมทั้งประโยชน์อื่นใดที่มีลักษณะเป็นเงินค่าตอบแทนให้แก่คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อยต่างๆที่ปรึกษาคณะกรรมการ นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ
• เสนอแนะนโยบาย พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ให้เหมาะสมและอยู่ในระดับที่เทียบเคียงได้กับอุตสาหกรรมในระดับเดียวกัน และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ
4.3 ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เสนอแนะการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลรวมถึงการจัดโครงสร้างองค์กร
ระบบประเมินผลการทำงานของพนักงาน พร้อมทั้งหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารงานของบริษัทฯ
• พิจารณากลั่นกลองผู้ที่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับ ผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมิติแต่งตั้ง
• เสนอแนะนโยบาย และพิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารตั้งแต่งระดับ ผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปให้เหมาะสมและอยู่ในระดับที่เทียบเคียงได้กับอุตสาหกรรมในระดับเดียวกัน นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ
• ดูแลกำหนดนโยบายให้มีอัตราค่าตอบแทนและผลประโยชน์โดยรวมที่สามารถ สรรหา บรรจุบุคลากรจากภายนอก และรักษาไว้ซึ่งบุคลากรภายในที่มีศักยภาพ
4.4 ด้านอื่นๆ
• ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
5. การประชุม
5.1 คณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัยากรบุคคล จะต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
5.2 ในการประชุมแต่ละครั้งจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
5.3 ในกรณีที่ประธานกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบริหารทรัพยากรบุคคลไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่ สามารถปฎิบัติหน้าที่ประธานได้ ให้กรรมการที่มาร่วมประชุมเลือกกรรมการหนึ่งคนเป็นประธานในที่ประชุม
5.4 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกเสียงหนึ่งเป็นชี้ขาด
5.5 กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบริการทรัยากรบุคคลคนใดมีส่วนได้เสียในเรื่องหนึ่งเรื่องใด จะต้องไม่เข้าร่วมในการพิจารณาและออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
6. การรายงาน
6.1 รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัท ปีละ 1 ครั้ง
6.2 สรุปผลการดำเนินงานไว้ในรายงานประจำปี และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี
7. การจ่ายค่าตอบแทน (Remuneration policy)
องค์ประกอบของการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร
• ฝ่ายทรัพยากรบุคคลแสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทฯเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบ ค่าตอบแทนสำหรับกรรมการเป็นประจำทุกปี
• พิจารณาให้ความเห็นชอบและทบทวนแบบประเมินผลการปฎิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติและดำเนินการประเมิน โดยคณะกรรมการสรรหาฯจะนำผลการประเมินดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการ
• เสนอหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ โดยเชื่อมโยงค่าตอบแทนกับผลประเมิน แผนธุรกิจ และผลการดำเนินงานของบริษัทฯโดยรวมเพื่อให้สามารถจูงใจ และรักษากรรมการที่มีความสามารถ มีคุณภาพ และศักยภาพ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการบริษัทฯเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีเพื่อพิจารณาอนุมัติ