ภาพรวมบริษัท
การควบคุมภายใน
วัตถุประสงค์
บริษัทฯ ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจ
อยู่ตลอดเวลาซึ่งมีผลกระทบต่อความเสี่ยงโดยรวมของบริษัท (Risk profile) การเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กฏหมาย กฏระเบียบและการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของบริษัท
บริษัทฯ จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดให้มีนโยบาย วิธีการปฏิบัติและการควบคุมที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้ การกำหนดให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ภายใต้สภาพแวดล้อม ของการควบคุมที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดี หน้าที่อย่างหนึ่ง ของบริษัทที่มีต่อผู้ถือหุ้น ผู้ถือกรมธรรม์ เจ้าหนี้และหน่วยงานกำกับดูแล คือ การสร้าง ความเชื่อมั่นให้แก่บุคคลดังกล่าวว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดีและความเสี่ยง ที่สำคัญจะได้รับการบริหารจัดการด้วยความระมัดระวังและเหมาะสม
คำนิยาม
การควบคุมภายใน หมายถึง นโยบายและกระบวนการซึ่งออกแบบขึ้น และนำมา ถือปฏิบัติเพื่อให้เชื่อมั่นได้อย่างมีเหตุผลว่า บริษัทจะบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
• การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
• รายงานทางการเงินมีความเชื่อถือได้
• การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฏหมาย กฏระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
การควบคุมทางด้านโครงสร้างและวิธีการปฏิบัติงาน
บริษัทฯได้จัดโครงสร้างการบริหารงานในแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน มีการแบ่งเป็น หน่วยงานย่อยและยังมีการกระจายอำนาจในการบริหารงานในแต่ละลำดับขั้น เพื่อให้ การบริหารงานและบริหารความเสี่ยงได้ถูกพิจารณาเป็นไปอย่างเหมาะสม
การประกอบธุรกิจของบริษัท
การประกอบธุรกิจของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. ด้านการรับประกันภัย
ธุรกิจหลักของบริษัทฯ คือ การรับประกันภัยประเภทอุบัติเหตุและสุขภาพโดยแบ่งเป็น
• การรับประกันภัยโดยตรง เป็นการรับประกันภัยผ่านตัวแทน นายหน้าบุคคลธรรมดา นายหน้านิติบุคคล และ ลูกค้าโดยตรง
• การรับประกันภัยต่อจากบริษัทฯ ประกันวินาศภัยอื่นๆ
2. ด้านการลงทุน
บริษัทประกันวินาศภัยสามารถนำเงินสดคงเหลือไปลงทุนหรือแสวงหาผลตอบแทน เพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้แก่บริษัท การลงทุนต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับ ความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้ และ มีสภาพคล่องในการเปลี่ยนสินทรัพย์ลงทุนเป็น เงินสดสำหรับส่วนที่บริษัท ต้องใช้ในอนาคตอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งต้องปฏิบัติ ตามประเภท สัดส่วน และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ภายใต้ข้อกำหนด ว่าด้วยการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย เรื่องการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทฯ ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2556 การให้กู้ยืมเงิน การลงทุนในหลักทรัพย์ ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร หุ้นสามัญ หุ้นกู้ รวมทั้งการฝากเงินกับธนาคาร