ภาพรวมบริษัท

การบริหารความเสี่ยงขององค์กร
(Enterprise Risk Management : ERM)

เพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัท มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นผู้กำหนด นโยบายการบริหารความเสี่ยงและให้หน่วยงานนำไปเป็นแนวทางและกลยุทธ์ในการบริหาร ความเสี่ยง และรายงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้นำเอาการบริหาร ความเสี่ยงแบบ “Three Lines of Defense” มาประยุกต์ใช้โดยแบ่งผู้รับผิดชอบความเสี่ยง ออกเป็น 3 ลำดับดังนี้

ผู้รับผิดชอบระดับแรก (First line of defense) คือ หน่วยธุรกิจที่แบกรับความเสี่ยง มีหน้าที่ ในการระบุและบริหารความเสี่ยงโดยตรง (ออกแบบและดำเนินการในการควบคุม) หน่วยธุรกิจเหล่านี้ จึงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงให้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำงาน

ผู้รับผิดชอบระดับที่สอง (Second line of defense) หน้าที่หน่วยบริหารความเสี่ยงและ หน่วยกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย รับผิดชอบในด้านการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ การออกแบบและการดำเนินการของการควบคุมในผู้รับผิดชอบระดับแรก รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะ และอำนวยความสะดวกกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่คือหน้าที่การจัดการที่อาจมี ระดับความเป็นกลางบางอย่าง แต่ไม่เป็นอิสระโดยสมบูรณ์จากผู้รับผิดชอบระดับแรก

ผู้รับผิดชอบระดับที่สาม (Third line of defense) หน้าที่ตรวจสอบภายในรับผิดชอบ ในด้านที่เป็นอิสระจากการบริหารความเสี่ยง

กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัทฯ คือ 1) การระบุปัจจัยเสี่ยง ที่จะส่งผลอย่างมีนัย สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท 2) การประเมินความเสี่ยงและกระบวนการติดตามความเสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ภายใต้นโยบายที่กำหนดและ 3) การรายงานความเสี่ยง ประเภทต่างๆ และ ประเด็นสำคัญ โดยแบ่งแต่ละประเภทของความเสี่ยง ดังนี้

1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์แผนดำเนินงาน และการนำไปปฏิบัติอย่าง ไม่เหมาะสม หรือ ไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ส่งผลให้ไม่บรรลุตาม วิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดไว้

2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
หมายถึง ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย โดยอาจเกิดขึ้นจากความล้มเหลว ความไม่เพียงพอ หรือความไม่เหมาะสมของกระบวนการปฏิบัติงานภายใน บุคลากร ระบบงาน หรือเหตุปัจจัยภายนอกที่ อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน และ/หรือฐานะทางการเงิน ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ หรือการขาดการกำกับดูแล และควบคุมที่ดีหรือขาดธรรมาภิบาลในองค์กร

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดนโยบาย แผนงาน และโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ พร้อมทั้งสื่อสารนโยบายให้ทุกหน่วยงานทราบ และนำไปปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด อีกทั้ง ยังได้พิจารณา ขอบเขตการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้ครอบคลุม 6 กิจกรรม หลักของบริษัทฯ ดังนี้

1. การพิจารณารับประกันภัย
2. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
3. การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย
4. การจัดการค่าสินไหมทดแทน
5. การประกันภัยต่อ
6. การลงทุนประกอบธุรกิจอื่น

3. ความเสี่ยงด้านการประกันภัย
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของความถี่ความรุนแรง และเวลาที่เกิดความเสียหาย ที่เบี่ยงเบนจาก สมมติฐานที่ใช้ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย การคำนวณสำรองประกันภัย และ การพิจารณารับประกันภัย
ปัจจัยเสี่ยงด้านการประกันภัย เช่น การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย การกระจุกตัวของภัยที่รับไว้ ค่าใช้จ่ายซึ่งสูงกว่าสมมติฐานที่กำหนดไว้ การจัดสรรเงินสำรองเบี้ยประกันภัย และเงินสำรองค่าสินไหม ทดแทน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ถือกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกันภัยใหม่ๆ โดยอาจส่ง ผลกระทบต่อจำนวนค่าสินไหมทดแทนและ กระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ ในอนาคต

4. ความเสี่ยงด้านการตลาด/การลงทุน
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดของสินทรัพย์ที่ลงทุน อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ราคาตราสารอนุพันธ์ ราคาอสังหาริมทรัพย์ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์

5. ความเสี่ยงด้านเครดิต
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่คู่ค้า/สัญญา ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้คืน หรือไม่ปฏิบัติตาม สัญญาที่ตกลงไว้กับ บริษัทฯ หรือโอกาสที่คู่ค้า/คู่สัญญาจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ

6. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่บริษัทฯ ไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงกำหนด เนื่องจากไม่สามารถ เปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสดได้หรือไม่ สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอเพื่อรองรับ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการประกอบธุรกิจ

7. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจ ของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับและดูแลธุรกิจรวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

8. ความเสี่ยงด้านมหันตภัย
หมายถึง ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันและร้ายแรง ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมาก เช่น ความเสียหายจากแผ่นดินไหว อุทกภัย ตามที่ปัจจุบันมีภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งถือ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งนี้การรับประกันภัยขอ งบริษัทฯ จะมีเพียงด้านสุขภาพและอุบัติเหตุเท่านั้น แต่หากเกิดมหันตภัยขึ้น อาจทำให้ต้องชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนเป็นจำนวนมาก

การติดตามประเมินผลและการรายงาน

การติดตามและประเมินผล เป็นกระบวนการที่จะดำเนินการต่อจากที่บริษัทฯ ได้กำหนดแผนการ
จัดการความเสี่ยงและกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดการความเสี่ยงนั้นๆ โดยมีเป้าหมาย คือ
เพื่อเป็นการประเมินความเหมาะสมและประสิทธิภาพกับวิธีการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งติดตาม ผลการจัดการ ความเสี่ยงที่ได้มีการดำเนินการไปแล้วว่าบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการบริหาร ความเสี่ยงหรือไม่
เพื่อควบคุมและติดตามระดับของความเสี่ยง
เพื่อตรวจสอบมาตรการควบคุมที่ได้มีการกำหนดหรือปรับใหม่ว่าสามารถลดโอกาสหรือ ผลกระทบของความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่
กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการประเมินผล และนำผลการประเมิน รายงานต่อคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง

ประโยชน์ที่ได้ในการบริหารความเสี่ยง

เพื่อป้องกันและลดความสูญเสีย จากภัยพิบัติต่างๆ อันทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก หรือดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้

null

นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านประกันภัย

บริษัทฯ จะพิจารณาอย่างละเอียดถึงระดับความเสี่ยงภัยที่รับโอนว่าอยู่ในระดับที่บริษัทฯ รับความเสี่ยงได้หรือไม่โดยอิงจาก คู่มือและอัตราเบี้ยประกันภัยที่กำหนดขึ้น มีการติดตาม และควบคุมการกระจายตัวของความเสี่ยงให้มีความเหมาะสม ไม่กระจุกตัวทั้งในทางภูมิศาสตร์ และประเภทของความเสี่ยง สำหรับความเสี่ยงภัยที่อยู่ในระดับสูงเกินกว่าที่บริษัทฯ จะสามารถ รับไว้ได้เองเพียงลำพังบริษัทฯ ได้มีการจัดการให้มีการถ่ายโอนความเสี่ยงไปยังผู้รับประกันภัยต่อ ผ่านสัญญาประกันภัยต่อ ซึ่งการเลือกผู้รับประกันภัยต่อ จะพิจารณาที่ความมั่นคงทาง การเงินเป็น อันดับแรก เพื่อบริหารการรับประกันภัยให้มีสัดส่วนของการประกันภัยอย่าง เหมาะสม ทั้งในด้านผลรวมของผลการพิจารณารับประกันภัย และให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัทฯ

การจัดการความเสี่ยงด้านการจัดการค่าสินไหมทดแทน และการสำรองค่าสินไหมทดแทน

ในการตั้งเงินสำรองค่าสินไหมทดแทน บริษัทฯ ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ยอมรับโดยทั่วไป คำนวณและรับรองโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับอนุญาต มีการติดตามและ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเงินสำรอง เพื่อพิจารณาปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้ง เงินสำรองของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่า เงินสำรองที่ตั้งไว้เพียงพอสำหรับภาระ ผูกพันที่บริษัทมีต่อผู้เอาประกันภัยในอนาคต และให้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยสอบทานความ เหมาะสมและความเพียงพอของ เงินสำรองประกันภัย

การบริหาร/จัดการความเสี่ยงด้านการประกันภัยต่อ

สำหรับความเสี่ยงภัยที่อยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าบริษัทฯ จะสามารถรับไว้ได้เองเพียงลำพัง ได้จัดการให้มีการถ่ายโอน ความเสี่ยงไปยังผู้รับประกันภัยต่อผ่านสัญญาประกันภัยต่อทั้ง วิธีที่เป็นสัญญาล่วงหน้ารายปีและวิธีที่เป็นการทำเฉพาะราย ซึ่งการเลือกผู้รับประกันภัยต่อ จะพิจารณาที่ความมั่นคงเป็นอันดับแรก นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีการบริหารพอร์ตการรับ ประกันภัย ให้มีสัดส่วนของการประกันภัยต่างๆ อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านผลรวมของผล การพิจารณารับประกันภัย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัทฯ

อีกทั้ง บริษัทฯ ได้จัดทำกลยุทธ์การบริหารการประกันภัยต่อที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และ ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการบริหาร ความเสี่ยงโดยรวม และได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทฯ ตามลำดับ โดยประกอบด้วย กระบวนการคัดเลือกแผนการประกันภัยต่อที่เหมาะสม การนำไปปฏิบัติใช้การตรวจสอบ การติดตาม การทบทวน การควบคุม และการจัดทำ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยต่อของบริษัทฯ โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงที่ยอมรับ ได้ของบริษัทฯ ต้นทุนทางการเงินโดยเปรียบเทียบสถานะของสภาพคล่อง แนวโน้มของ ตลาดประกันภัยต่อ และแผนธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้ มีความเหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และความซับซ้อนทางธุรกิจของบริษัทฯ

null

นโยบายการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน

การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset and Liability Management : ALM) เป็นการบริหารจัดการโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินในงบการเงิน รวมทั้งภาระผูกพัน ต่างๆ ด้วย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนและความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ความเสี่ยงที่ เกี่ยวข้อง จะมีทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารสภาพคล่อง และอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดราคาผิดพลาด และความเสี่ยงด้านการประมาณการ หนี้สินค่าสินไหมทดแทนคลาดเคลื่อนสูง ตัวอย่างเช่น เมื่อบริษัทต้องชำระคืนหนี้สินและ ภาระผูกพัน แต่ไม่สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีให้เป็นเงินสดได้ทันเวลา หรือไม่สามารถ จัดหาเงินทุนได้ หรือสามารถจัดหาแหล่งเงินทุนได้แต่มีต้นทุนทางการเงินสูง ซึ่งจะกระทบ ต่อรายได้ และเงินกองทุนของบริษัท ตลอดจนความน่าเชื่อถือของบริษัท

กลยุทธ์การบริหารสินทรัพย์และหนี้สินจึงเน้นไปทางการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อให้เพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้สินที่มีต่อผู้ถือกรมธรรม์ จำนวนกรมธรรม์ และหนี้สิน ตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงเป็นสิ่งที่บริษัทนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจในการลงทุน ทั้งในเรื่องของระยะเวลาที่จะลงทุน และความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

หมายเหตุ
ราคาบัญชี หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สินที่ประเมินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ราคาประเมิน หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สินที่ประเมินตามประกาศคณะกรรมการกำกั และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สิ ของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงิน ของบริษัทประกันภัย และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัย

มูลค่า วิธีการ และสมมติฐานในการประเมินหนี้สิน จากสัญญาประกันภัย

หนี้สินจากสัญญาประกันภัยประกอบด้วย
เพื่อป้องกันและลดความสูญเสีย จากภัยพิบัติต่างๆ อันทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก หรือดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้
1. เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
บริษัทคำนวณเงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ตามกฎเกณฑ์ในประกาศคณะ กรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ เงินสำรองสำหรับค่าสินไหม ทดแทน และเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย โดยคำนวณวิธี 1/365 System
2. สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายบันทึกเมื่อได้รับการแจ้งคำเรียกร้อง ค่าเสียหายจากผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าที่ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระหรือผู้ประเมินของบริษัท แล้วแต่กรณี นอกจากนี้บริษัทได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมสำหรับค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยัง ไม่ได้มีการรายงานให้บริษัททราบ (IBNR) ซึ่งประเมินโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

3. สำรองความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุด
สำรองความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดเป็นประมาณการที่ดีที่สุดของค่าสินไหมทดแทนที่จะ คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเอาประกันที่เหลืออยู่สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีผล บังคับอยู่ ตามการวิเคราะห์ข้อมูลค่าสินไหมทดแทนในอดีตโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย สำรองความเสี่ยงภัยที่ยังไม่สิ้นสุดจะถูกรับรู้ในงบการเงินในกรณีที่สำรองความเสี่ยงภัย ที่ยังไม่สิ้นสุดมากกว่าสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
ในการทำการประเมินได้ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ 3 วิธี ดังนี้

1. วิธีบันไดลูกโซ่ (Chain Ladder method, CL) สำหรับข้อมูลสินไหมทดแทนจ่าย และสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น

2. วิธีเบอร์นฮุตเตอร์ เฟอร์กูสัน (Bornhuetter-Ferguson method, BF) สำหรับข้อมูลสินไหมทดแทนจ่ายและสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น

3. วิธีค่าคาดหวังอัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน (Expected Loss Ratio, ELR) ในการประเมินค่าประมาณการที ดีที สุดของค่าสินไหมทดแทน เราเลือกใช้วิธีบันไดลูกโซ่ของ ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นเป็นหลัก สำหรับวิธีการ BF และ ELR เราเลือกใช้ในกรณีที่มี ความเหมาะสมตามข้อมูล

หมายเหตุ

ราคาบัญชี หมายถึง มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัย ที่ประเมินตาม มาตรฐานการบัญชี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักลงทุนผู้วิเคราะห์ทางการ เงินเข้าใจถึงมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของหนี้สินจากสัญญาประกันภัยที่เป็น ที่ยอมรับตามหลักการทางบัญชีในประเทศไทย ซึ่งมูลค่าดังกล่าวจะต้อง ผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีอนุญาตแล้ว
ราคาประเมิน หมายถึง มูลค่าหนี้สินจากสัญญาประกันภัย ที่ประเมิน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อ วัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัย

และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญา ประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องประเมินโดย นักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตามหลักการ ทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับการยอมรับ สมมติฐานที่ใช้ในการประเมิน จะต้องสอดคล้องกับประสบการณ์จริงหรือในกรณีที่บริษัทมีข้อมูลไม่เพียงพอ อาจอ้างอิงจากประสบการณ์ของอุตสาหกรรมและปรับให้เหมาะสมกับลักษณะ เฉพาะของพอร์ตการรับประกันภัยของบริษัทนั้น นอกจากนี้ มูลค่าสำรอง ประกันภัยดังกล่าวจะต้องรวมถึงค่าเผื่อความผันผวน (Provision of Adverse Deviation : PAD) ซึ่งให้เป็นไปตามที่สำนักงาน คปภ. กำหนด

ข้อสังเกต

ในบางช่วงเวลาของการรายงานทางการเงิน มูลค่าหนี้สินจากสัญญา ประกันภัยอาจมีความแตกต่างระหว่างราคาบัญชีและราคาประเมินของ อย่างมีนัยสำคัญ อันเนื่องมากจากวัตถุประสงค์และวิธีการที่แตกต่างกัน

ในการประเมินตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งนี้ผู้ที่จะนำข้อมูลไปใช้ควรศึกษาและ ทำความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์แนวทางการประเมินราคาหนี้สินจากสัญญา ประกันภัยทั้งสองให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ

null

นโยบายการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน

กรอบนโยบายการลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยงรวม การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ การรับประกันภัย การทำสัญญาประกันภัยต่อ การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ฐานะ เงินกองทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนที่คาดหวัง และความพร้อมของระบบและ บุคลากรในการรองรับการลงทุนและให้เป็นไปตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่องการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกัน วินาศภัย พ.ศ. 2556

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ บริษัท แปซิฟิค ครอส ประกันสุขภาพ จำกัด (มหาชน) มีการบริหารจัดการสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการลงทุนในสินทรัพย์ของบริษัทฯ การลงทุนในสินทรัพย์เหล่านั้นจะถูกจัดขึ้น โดยคณะกรรมการลงทุน โดยคำนึงถึงสภาพคล่องของกิจการเป็นหลักก เพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินการตามภารกิจและวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ นโยบายนี้มีความสอดคล้องตามข้อกฎหมาย และกฎระเบียบ ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

สัดส่วนการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ (Product Limit)

บริษัทฯ มีนโยบายการลงทุนปี 2560 โดย มีเป้าหมาย “เน้นความปลอดภัยของเงินต้น และ ความคุ้มค่าของผลตอบแทนการลงทุน” ซึ่งมีการกำหนดสัดส่วนในการลงทุนแต่ละประเภท ให้เหมาะสมกับสภาวะของตลาดเงินตลาดทุน ณ เวลานั้นๆ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องของ การลงทุนแต่ละประเภทกับการบริหารความเสี่ยงซึ่งจะต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการ การลงทุน แล้วจึงเสนอกรรมการผู้จัดการเพื่ออนุมัติการลงทุนก่อนดำเนินการทุกครั้ง
ยุทธศาสตร์และการจัดสรร จะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทฯ พิจารณาถึง สภาพคล่อง เป็นความสำคัญลำดับแรก คำนึงถึงขีดจำกัดเงินลงทุน ฝ่ายการลงทุนจะต้อง ติดตามความเคลื่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ จากสถาบัน การเงินและศูนย์วิจัยของหน่ายงานที่มีความน่าเชื่อถือหลายแห่ง ประกอบกับการวางแผน การลงทุนอยู่ตลอดเวลาเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของการแผนงานการลงทุน หากสภาวะ ตลาดเงินหรือตลาดทุนเกิดความผันผวน

คุณภาพสินทรัพย์

1. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด – คือการฝากเงินกับสถาบันการเงินในประเทศและ ต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของแต่ละประเทศ การฝากเงินกับสถาบันการเงิน ต่างประเทศสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในประเทศนั้นๆ

2. เงินฝากประจำ/เงินฝากตามระยะเวลา – องค์กรสามารถฝากเงินกับทั้งรัฐบาลหรือธนาคาร เอกชน ซึ่งมีการรับประกันเงินต้น และการพิจารณาดอกเบี้ยที่จะได้รับจะต้องมีการเปรียบเทียบ กับอัตราดอกเบี้ยในตลาดปัจจุบัน รวมทั้ง อัตราแลกเปลี่ยน และระยะเวลาของเงินฝากประจำ ควรจะเริ่มต้นตั้งแต่ 3 เดือนถึง 60 เดือนเป็นสูงสุด

3. ตราสารหนี้ – คุณภาพของตราสารหนี้ เช่นพันธบัตรหรือหุ้นกู้จะเลือกตามเครดิตเรทติ้งซึ่ง ต้องมีคะแนนอย่างน้อย “A-1” ซึ่งจัดอันดับโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือทั้ง ในประเทศ และ ต่างประเทศ และเป็นบริษัทที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสามารถในการดำเนิน ธุรกิจได้เป็นอย่างดี และระยะเวลาครบกำหนดของพันธบัตรและหุ้นกู้ควรจะอยู่ในช่วง 3-5 ปี

4. กองทุนรวม – กองทุนรวมจะต้องมีนโยบายลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้หรือตราสารทุน ที่มีคุณภาพ โดยให้ผลตอบแทนเหมาะสมกับความเสี่ยง อาทิเช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มี กฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ หรือธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคาร ต่างประเทศ หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้

การประเมินราคาสินทรัพย์

บริษัทมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็น เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน ใบรับฝากเงิน และ บัตรเงินฝาก (Negotiable Certificate of deposit)
1. เงินสด – ให้ประเมินราคาตามจำนวนเงินที่มีอยู่ต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของแต่ละประเทศ การฝากเงินกับสถาบันการเงิน ต่างประเทศสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในประเทศนั้นๆ

2. เงินฝากสถาบันการเงิน – ความน่าเชื่อถือของตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้

หมายเหตุ
ราคาบัญชี หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สิน ที่ประเมินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ราคาประเมิน หมายถึง สินทรัพย์และหนี้สินที่ประเมิน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัยว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อวัตถุประสงค์หลักในการกำกับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยและเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัท มีความสามารถในการจ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยได้อย่างครบถ้วนแก่ผู้เอาประกันภัย